เริ่มต้นจากการ copy โฟเดอร์ GCOOP มาไว้ที่ Drive C: แล้ว ให้ทำการเปิด Project ขึ้นมาตามขั้นตอนต่อไปนี้
ไปที่ Visual Studio 2008 -> File -> Open Project... แล้วทำการเลือก path ดังนี้ C:\GCOOP\GCOOP.sln หลังจากนั้นกด Open ดังรูปนี้ ฉะนั้นการเปิด project เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ซึ่งใน Project: GCOOP จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักดังนี้
- DBAccess จะรวบรวมส่วนที่เกี่ยวกับการติดต่อฐานข้อมูล
- Saving จะรวบรวมส่วน web page และ datawindow ของทุกระบบ
- WebService จะรวบรวม service ของระบบต่างๆ ไว้
ขั้นตอนการสร้าง web sheet
1. วิธี Create เริ่มจากเลือก Saving ดังรูปนี้
ไปที่ Application -> เลือกระบบ -> คลื๊กขวา -> เลือก Add -> New Item ดังรูปนี้
เลือก Template เป็น Web Content Form -> ตั้งชื่อให้สื่อความหมาย
มาตราฐานการตั้งชื่อ w_sheet_ระบบ_ชื่อ page websheet.aspx
ตัวอย่าง w_sheet_sl_member_detail.aspx -> กด Add ดังรูปนี้

เลือก Contents of folder เป็น Frame.Master และกด OK เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ดังรูปนี้
เลือก Contents of folder เป็น Frame.Master และกด OK เป็นอันเสร็จสมบูรณ์ ดังรูปนี้
หลังจาก Create web sheet เสร็จสมบูรณ์จะมี object เกิดขึ้น 3 ตัวด้วยกัน คือ
- .aspx จะประกอบด้วยหน้า web page ควบคุมหน้าจอ (UI) สำหรับแทรก code HTML, Java Script, Css และ tag ASP.Net
- .aspx.cs จะเป็นส่วนของ code behind สำหรับเขียนคำสั่งการทำงานต่างๆ เช่น การดึงข้อมูลจาก ดาต้าเบส เรียกใช้ web service ประมวลผลต่างๆ
- .aspx.designer.cs เป็นไฟล์ที่ Visual Studio สร้างอัตโนมัติ ห้ามแก้ไข code ในส่วนนี้
รูปแสดง object file (.aspx)
รูปแสดง object file (.aspx.cs)
รูปแสดง object file (.aspx.designer.cs)
2. วิธีการ inherited base class PageWebSheet
เริ่มจากทำการ inherite base class ในส่วน Code Behind โดยเพิ่มดังต่อไปนี้
using Saving.CmConfig;
namespace Saving.Applications.ap_deposit
{
public partial class test : System.Web.UI.Page
{
protected void Page_Load(object sender, EventArgs e)
{
}
}
*ให้กำหนด using Saving.CmConfig; ก่อน
แล้วแก้ไขเป็น
namespace Saving.Applications.ap_deposit
{
public partial class test : PageWebSheet,WebSheet
{
}
}
PageWebSheet คือ Base Class
WebSheet คือ Interface
3. implement interface
คลิ๊กขวา WebSheet เลือก Implement Interface -> Implement Interface ดังรูปนี้
ดังนั้นจะได้ 5 method ที่สามารถเรียกใช้งานได้ ดังนี้
1. public void InitJsPostBack()
2. public void WebSheetLoadBegin()
3. public void CheckJsPostBack(string eventArg)
4. public void SaveWebSheet()
5. public void WebSheetLoadEnd()
คำอธิบายฟังก์ชัน
1. InitJsPostBack() เป็นการ register event สำหรับการใช้งานในหน้าจอนั้นๆ
2. WebSheetLoadBegin() เป็น method แรกเมื่อ sheet ดังกล่าวถูกเปิดขึ้น
(ห้ามใช้ Pageload() อีก)
3. CheckJsPostBack(string eventArg) เป็นฟังก์ชันไว้สำหรับตรวจสอบ event
ที่มีการ register ไว้ กรณีมีการเรียกใช้งาน event นั้นๆ
4. SaveWebSheet() เป็น method สำหรับการบันทึกข้อมูลของ sheet นั้นๆ
โดยระบบจะทำการตรวจสอบสิทธิในการบันทึกก่อน
5. WebSheetLoadEnd() เป็น method สุดท้ายของ web sheet นี้
หมายเหตุ สิ่งสำคัญที่ต้องปฏิบัติตาม
1. Tag <%=initJavaScript%> อยู่บรรทัดแรกของ Content1 เสมอ
2. ฟังก์ชัน JavaScript ชื่อ Validate() อยู่ตำแหน่งไหนก็ได้ของ Page แต่จะต้องมีการ
return ค่า true หรือ false เพื่อทำการสั่ง Save
3. Tag <asp:Literal ID = "LtServerMessage" runat = "server"></asp:Literal>
อยู่บรรทัดแรกของ Content2 เสมอ
4. วิธีประกาศตัวแปรมาตราฐาน
การประกาศตัวแปรจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1. ประเภทตัวแปร จะใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็กขึ้นต้นเสมอ แล้วตามด้วยอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่
ตัวอย่าง string eventArg;
2. ประเภท method, property จะใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด
ตัวอย่าง public void InitJsPostBack()
5. comment
วิธีการ comment มี 2 แบบคือ
1. แบบปกติทั่วไป จะนำหน้าด้วยเครื่องหมาย slash 2 ตัว (//) แต่ถ้าต้องการ comment แบบหลายบรรทัด จะขึ้นต้นด้วย /* แล้วจบด้วย */
ตัวอย่าง
//Do something หรือ
/*
Do something
Do something
Do something
*/
2. แบบ xml สำหรับนำไปสร้างเป็นเอกสาร(.chm) จะนำหน้าด้วยเครื่องหมาย slash 3 ตัว (///)
ตัวอย่าง
/// <summary>
///
/// </summary>
///
Tag Reference
Tag | วัตถุประสงค์ |
<c> | ตั้งค่าข้อความเป็นอักษรพิเศษ |
<code> | บอกคำสั่งในโปรแกรม หรือ ผลลัพธ์ที่ได้จากโปรแกรม |
<example> | แสดงตัวอย่าง |
<exception> | เป็นข้อผิดพลาดที่ method หรือ function ที่สามารถโยนออกมา |
<list> | สร้าง list หรือ table |
<para> | structure ที่อนุญาติให้เพิ่มข้อความ |
<param> | อธิบายลักษณะพิเศษสำหรับ method หรือ constructor |
<paramref> | เป็นการระบุคำว่าเป็นชื่อของตัวแปร |
<permission> | อธิบายสิทธิการเข้าถึงของผู้ใช้ |
<remarks> | อธิบายประเภท |
<returns> | อธิบายค่าที่ method ส่งกลับมา |
<see> | ระบุ link |
<seealso> | สร้างหัวข้อ See Also |
<summary> | อธิบายสาระสำคัญ |
<value> | อธิบายคุณสมบัติ |
1 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น